Knowledge

จุดประกายคุณค่าของครูและผู้เรียน ด้วยวิสัยทัศน์ผู้บริหาร

จุดประกายคุณค่าของครูและผู้เรียน ด้วยวิสัยทัศน์ผู้บริหาร

 2 years ago 1139

รศ. ลัดดา ภู่เกียรติ กลุ่มผู้อำนวยการผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ดร. กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ผู้บรรยาย
สุรศักดิ์ แซ่ลิ้ม ผู้เรียบเรียง

          ผู้บริหารเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงด้วยการร่วมมือกับผู้ปกครองและหน่วยงานภายนอกเพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่ ๆ นอกห้องเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ใหม่ ๆ นอกห้องเรียนช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน และมอบเทคนิคใหม่ให้กับครู โดยผู้บริหารอาจนำครู และผู้เรียนไปยังแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ หรือประสานหน่วยงานเอกชนให้เข้ามาจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียนก็ได้

Adaptive Leadership : ทักษะจำเป็นของผู้บริหาร
          สถานการณ์โควิดว่าทำให้บริบทและบทบาทของโรงเรียน ครู และผู้เรียนเปลี่ยนแปลงไป ผู้บริหารจึงเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องปรับเปลี่ยนโรงเรียนเพื่อรับกับสถานการณ์ดังกล่าว และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อต่อยอดความสามารถของผู้เรียนให้ได้ รศ. ลัดดา จึงเสนอว่า การสร้าง “Adaptive Leadership” หรือทักษะของผู้นำในการชักจูงและโน้มน้าวให้ทีมงานและทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงภายในโรงเรียน จะเป็นกุญแจสำคัญเพื่อให้โรงเรียนสามารถผ่านวิกฤตดังกล่าวไปให้ได้

มองวิกฤตให้เป็นโอกาส
          ดร. กรรณิการ์ กล่าวว่าหากผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดีตั้งแต่เด็ก ผู้เรียนก็จะสามารถเติบโตเพื่อพัฒนาสังคมได้ เมื่อมองในมุมของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่มากก็น้อย เพราะว่าเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวทุกคน ทำให้ผู้เรียนต้องใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทัน
          ในช่วงของโควิด การเรียนรู้นอกห้องเรียนได้หยุดชะงักลงไปพักหนึ่ง ทาง NSM เห็นว่ามีรูปแบบการเรียนรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย จึงได้มีโอกาสประสานกับผู้ปกครองและโรงเรียนผ่านรูปแบบออนไลน์ ซึ่งผู้บริหารจะสามารถช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ให้ดำเนินต่อไปได้ก็ต่อเมื่อเปิดรับมุมมองใหม่ ๆ และมองเห็นโอกาสที่จะได้ลองจัดการเรียนรู้แบบใหม่เพื่อหาวิธีที่เป็นประโยชน์สำหรับทั้งครูและผู้เรียน

มุมมองใหม่ของผู้บริหาร เสริมสร้างคุณค่าให้ผู้เรียน
          เพราะผู้เรียนทุกคนล้วนมีคุณค่าในตัวเอง โรงเรียนจึงเป็นหลักสำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณค่าภายในตัวผู้เรียนด้วยการร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง วิธีการจัดการเรียนรู้จึงต้องปรับเปลี่ยนให้หลากหลายให้สอดคล้องกับคุณค่าของผู้เรียนทุกคน การเรียนรู้นอกห้องเรียนจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกการจัดการเรียนรู้ที่ครูและผู้บริหารไม่ควรมองข้าม เพราะการเรียนรู้ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอแล้วสำหรับการเรียนรู้ในปัจจุบัน
          นอกจากนั้น ผู้บริหารต้องประสานกับผู้ปกครองและหน่วยงานเอกชนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน และพัฒนาผู้เรียนทุกคนโดยไม่จำเป็นต้องจำกัดวิชาใดวิชาหนึ่งเสมอไป รศ. ลัดดา เน้นย้ำว่า ผู้บริหารต้องปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ให้เปิดกว้าง แล้วการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนจะเกิดขึ้นได้

ก้าวออกจากห้องเรียนเพื่อเก็บเกี่ยวแรงบันดาลใจ
          ดร. กรรณิการ์กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการเรียนรู้นอกห้องเรียนคือการสร้างแรงบันดาลใจ เมื่อผู้เรียนได้เห็นถึงแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายจะช่วยให้ผู้เรียนค้นพบตัวเองและสนุกกับการเรียนมากขึ้น ภายใน NSM มีทั้งกิจกรรมและนิทรรศการให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รวมทั้งจัดคาราวานวิทยาศาสตร์โดยยกพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ขนาดย่อมไปตามโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมนอกห้องเรียนและค้นพบตัวเอง รศ. ลัดดา เสริมว่า ผู้บริหารเป็นตัวแปรสำคัญที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ครู และต่อยอดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทั้งในและนอกห้องเรียนลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นจริงด้วย

 

NSM Thailandสนับสนุนโดย NSM Thailand

EDUCA 2022: ปรับเปลี่ยนเพื่อเสริมสร้างมูลค่าให้โรงเรียน ครู และผู้เรียนทุกคน ด้วยมือผู้บริหารโรงเรียน https://event.educathai.com/educa2022/online-workshop/2888


TAG: #Adaptive Leadership #กิจกรรมการเรียนรู้ #แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน #NSM #NSMThailand #อพวช #วิทยาศาสตร์ #EDUCA2022