Video
EDUCA Cafe Podcast: เจาะลึก Home-based Learning สิงคโปร์
4 years ago 6362เจาะลึก Home-based Learning (HBL) แนวทางการเรียนรู้ที่ใช้ในโรงเรียนที่สิงคโปร์ โดยเริ่มใช้ 1 วัน ต่อสัปดาห์ โครงการจะเริ่มต้นส่ง HBL Package สำหรับทุกกลุ่มสาระวิชา ยกเว้นการเรียนวิชาภาษาแม่ ผ่านแพลทฟอร์มที่ชื่อว่า Parent Gateway (https://pg.moe.edu.sg/) โดยมีโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคอนให้การสนับสนุนการเรียนรู้ทั้งระบบ ผ่านการทำความเข้าใจกับครู ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน รวมทั้งการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หากมีความจำเป็นต้องเข้ามาเรียนที่โรงเรียน ก็สามารถเข้ามาได้ ในจำนวนและเวลาที่จำกัด HBL Package ไม่ได้อิงกับการเรียนออนไลน์เพียงอย่างเดียว โดยใน HBL Package จะมีคำชี้แจงการเรียนรู้ ตารางการเรียน แผนการเรียนรู้ ใบงานหรือใบกิจกรรม และจำนวนชั่วโมงที่ต้องการในการเรียนรู้ในรายวิชานั้นๆ
อ้างอิง บทความ HBL Singapore https://acsj.moe.edu.sg/home-based-learning-hbl
Script
สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับครูผู้ฟังทุกท่าน เข้าสู่ EDUCA CAFÉ PODCAST คุยกันตามภาษา COOL...ครู กับดิฉัน นิภาพร กุลสมบูรณ์ หรือครูนิค่ะ วันนี้เราจะมาต่อและเจาะลึกกันเรื่องของ Home-Based Learning หรือ HBL เพื่อพิชิตโควิด-19 สไตล์สิงคโปร์นะคะ ตอนที่แล้วเล่าให้ฟังถึงข่าวคราวและความเคลื่อนไหวของทางสิงคโปร์ที่เขาใช้โครงการที่เรียกว่า Home-Based Learning โรงเรียนที่สิงคโปร์เขามีระบบที่เรียกว่า Home-Based Learning อย่างไรบ้าง นิจะมาเล่าให้ฟังค่ะ ตั้งแต่ต้นเดือนเมษาที่ผ่านมา ทุกโรงเรียนภายใต้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการก็ได้ดำเนินการที่เรียกว่า HBL หรือ Home-Based Learning 1 วันต่อสัปดาห์แล้วนะคะ การที่จะเรียนรู้แบบนี้ ครูจะส่งชุดเรียนรู้ที่เรียกว่า HBL Package สำหรับทุกกลุ่มสาระวิชา ยกเว้นภาษาแม่อย่างเดียวนะคะไปให้ผู้ปกครองนักเรียนที่อยู่ที่บ้านผ่าน platform ที่เรียกว่า Parent Gateway หรือ PA ในวันที่มีการเรียนรู้ค่ะ หลังจากนั้นนอกจากวิชาที่เป็น mother tongue language หรือว่าภาษาแม่ ครูที่สอน MTL หรือว่า mother tongue language ก็จะส่งไปตอน 8 โมงเช้าเช่นเดียวกัน แต่จะเป็น package ที่แยกออกจากกันนะคะ ด้วยวิธีการนี้ นักเรียนของเรา หรือว่าเด็กๆ ในสิงคโปร์ก็จะได้รับการบ้าน หรือ assignment และก็บทเรียนผ่าน HBL Package และรู้ว่าวันนี้จะต้องเรียนเรื่องอะไร และทำอะไรบ้างที่บ้านของตนเองค่ะ
แล้วทีนี้เรามาดูกับว่า HBL Package ในนั้นมีอะไรกันบ้าง ใน Package นี้คุณครูก็จะจัดไว้อย่างพร้อมสรรพเลยนะคะ เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้เข้าใจร่วมกันก่อนที่จะเรียน รวมทั้งคำชี้แจงความรู้ ตารางการเรียน แผนการเรียนรู้ ใบงาน หรือใบกิจกรรม และจำนวนชั่วโมงที่แนะนำให้ใช้ในการเรียนรู้วิชานั้นๆ นะคะ หลักการที่สำคัญของ HBL ก็คือ ไม่จำเป็นที่จะอยู่กับ E-Learning หรือว่าการเรียนรู้ออนไลน์อย่างเดียว ผู้ปกครองและเด็กๆ สามารถเรียนรู้ใจผ่าน offline assignment ก็ได้ หมายถึงงานที่มอบหมายเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นอ่านจากหนังสือ ใบความรู้ที่ครูเตรียมให้ หรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ แบบฝึกหัดต่างๆ ที่ครูเตรียมไว้ก็จะมีคำอธิบายอย่างชัดเจนนะคะ ทีนี้เราอยากจะรู้ว่าครูสิงคโปร์ติดตามรับประเมินการเรียนรู้ของเด็กๆ ที่ใช้ HBL กันอย่างไร โรงเรียนมีระบบการติดตามและก็ประเมินความรู้ค่ะ เป็นแผนอย่างชัดเจน และส่งเป็น package ไปให้ผู้ปกครองและเด็กด้วย หน้าที่ของคุณครูในที่นี้ไม่ได้หยุดอยู่แค่การส่ง package นี้ไปให้เด็กๆ หรือผู้ปกครองอย่างเดียวนะคะ คุณครูต้องคอยตรวจเช็ก โทรสอบถามความเป็นอยู่ของเด็กๆ ว่าเด็กๆ มีสุขภาวะเป็นอย่างไรบ้าง ครอบครัวเป็นอย่างไรบ้าง และช่วย review การเรียนรู้ ตรวจสอบการบ้านที่เด็กส่งกลับมา และให้คำแนะนำเด็กๆ ด้วยในการที่จะจัดการปัญหาการเรียนรู้ที่เจอในระหว่างที่เรียนรู้ที่บ้านนะคะ นอกจากนั้น ครูยังจะต้องรวบรวม feedback จากเด็กและผู้ปกครองกลับมาที่จะทบทวนและพัฒนา package ในครั้งต่อไปเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยค่ะ
ทีนี้คนสำคัญอีกคนหนึ่งก็คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือว่าครูใหญ่ต้องเป็นคนทำความเข้าใจ และสื่อสารให้ถูกต้องเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบใหม่นี้นะคะ สิ่งที่สำคัญที่ครูใหญ่จะต้องสื่อสารให้ครูและผู้ปกครองเข้าใจ ก็คือ การเรียนรู้แบบ HBL หรือเรียนรู้จากที่บ้านจะแตกต่างจากการเรียนรู้จากห้องเรียน นักเรียนจะต้องมีความยืดหยุ่นมากกว่า เด็กๆ สามารถกำหนดวิธีการเรียนรู้ของเขาเองได้ และไม่ควรจะจำกัดพื้นที่การเรียนรู้ทางกายภาพ หรือว่าจะต้องเปลี่ยนวิธีการที่จะให้เด็กออกกำลัง หรือว่า exercise เพื่อที่จะมีความพร้อมในการเรียนนะคะ ที่สำคัญครูก็ไม่ได้เข้าไปมีบทบาทควบคุมสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ทั้งหมด ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน และไม่สามารถตอบสนองคำถามหรืออะไรได้ทันท่วงทีนัก อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจร่วมกัน ที่สำคัญก็คือครูต้องมีข้อจำกัดในการสังเกตประเมินการเรียนรู้ของเด็กๆ ไม่เหมือนที่ใกล้ชิดกันอยู่ที่โรงเรียนนะคะ แม้ว่าจะมีปัญหาอยู่บ้าง แต่อันนี้เป็นหลักการให้เราเข้าใจร่วมกันและเราก็ยังสามารถที่จะดำเนินการเรียนรู้แบบนี้ได้ต่อไปเพื่อสร้างการเรียนรู้ในวิกฤตการณ์นี้นะคะ สิ่งที่สำคัญก็คือต้องสื่อสารกับผู้ปกครองในการเตรียมตัวเรื่องของ HBL ด้วยค่ะ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นทั้งครูและผู้ปกครองต้องกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างอิสระและไม่ยึดติดกับวิธีการเรียนหรือว่า strict มากเกินไป มีคำแนะนำผู้ปกครอง 7 ข้อดังนี้ค่ะ
1. จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ให้น่าอยู่ น่าเรียนรู้ ตามสภาพที่สามารถเรียนรู้มากที่สุดนะคะ
2. ชวนเด็กๆ ทำ To do list หรือตารางประจำวันว่าวันนี้ต้องทำอะไรกันบ้าง
3. แนะนำให้เด็กๆ ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่ามีสิ่งใดที่จะต้องทำ และจะทำในรูปแบบไหน
4. สร้างข้อตกลงกับเด็กๆ ในการที่จะใช้คอมพิวเตอร์หรือว่า iPad screen time กับทางโรงเรียน และก็แนะนำว่าการเรียนรู้ออนไลน์ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะในเด็กๆ เล็กๆ หรือเด็กประถม
5. กระตุ้นให้เด็กมองโลกในแง่บวก ยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และบริหารอารมณ์ด้วยให้อยู่ในสภาพอารมณ์ที่ร่าเริงนะคะ ถ้าเกิดรู้สึกว่าเด็กเริ่มเครียด ผู้ปกครองต้องหยุดชั่วคราว
6. อย่าลืมเรื่องสุขภาวะอื่นๆ ของเด็กด้วยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรักษาความสะอาด การล้างมือด้วยสบู่ เมื่อเริ่มรู้สึกป่วยก็ต้องรีบแจ้งผู้ปกครอง หรือว่าเด็กนะคะ
7. ก็คือ กระทรวงก็ยังจัดทำ online resource นะคะ หรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่จะช่วยเด็กๆ และผู้ปกครองในการจัดการทั้งเรื่องการเรียนรู้และก็อารมณ์ค่ะ
เรื่องสุดท้ายที่น่าสนใจก็คือ โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องสนับสนุนการเรียนรู้แบบ HBL และทำได้ในหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น มีระบบอำนวยความสะดวก มีสตาฟของที่โรงเรียนคอยให้ความช่วยเหลือเด็กๆ ในการเข้าถึง student learning space นะคะ เช่น เด็กที่ลืมการใช้ password เด็กที่ลืมชื่อของตัวเองก็สามารถติดต่อที่ call center หรือติดต่อถามสตาฟได้ตลอดเวลาที่จะมาสนับสนุนในเรื่องเหล่านี้ สอง สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หรือเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มนะคะ ทางโรงเรียนหรือกลุ่มก็จะมีการลำดับความสำคัญและก็ความจำเป็นของเด็กว่า คนไหนที่ต้องการมาก ผู้ปกครองอาจจะไม่มีเวลา เป็นบุคลากรทางการแพทย์ หรือไม่สะดวกที่จะดูแลเด็กจริงๆ ตรงนั้นนี่ ทางโรงเรียนจะจัดตารางความสำคัญ หรือจัดเวลาให้เด็กมาที่โรงเรียนได้ โดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้แบบ HBL แต่ก็ทำอย่างจำกัดมากๆ และหลีกเลี่ยงที่จะให้เด็กมาที่โรงเรียนมากที่สุด โดยจะแบ่งเป็นช่วง 2 เวลาคือ เด็กที่โรงเรียนจะเรียนเจ็ดโมงครึ่ง และบ่ายโมงครึ่ง แต่ถ้าไปที่ศูนย์เด็กเล็กจะอยู่ที่บ่ายโมงครึ่งถึงหนึ่งทุ่มนะคะที่จะช่วยดูแลเด็กๆ แต่ตรงนี้กระทรวงก็ไม่ค่อยแนะนำ จะจัดให้เฉพาะคนที่มีความต้องการพิเศษจริงๆ และมีความจำเป็นนะคะ
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่อง Home-Based Learning ที่สิงคโปร์ดำเนินการจัดการ หลักการ วิธีการที่ครูจะต้อง assign เด็กๆ วางไว้อย่างชัดเลย และก็วิธีการที่ครูจะต้องติดตามประเมิน การที่ผู้อำนวยการโรงเรียนจะต้องเข้าใจและสื่อสารกับผู้ปกครอง คำแนะนำของผู้ปกครอง ที่สำคัญยังวางระบบช่วยเหลือและ support ในกรณีที่ผู้ปกครองมีความจำเป็น และก็ไม่สะดวกจริงๆ ด้วยนะคะ Home-Based Learning เป็นอีกแนวทางหนึ่ง และเป็นบทเรียนที่เราเรียนรู้ได้จากประเทศชั้นนำทางการศึกษาอย่างสิงคโปร์นะคะ
สำหรับวันนี้ก็คงจะ update ข่าวคราวกันแค่นี้นะคะ และยังเป็นกำลังใจให้กับคุณครูทุกคนในช่วงปิดเทอมนี้นะคะ update ความรู้ และติดตามความรู้เรื่องใหม่ๆ เพื่อให้พร้อมรับสู่โควิดกันต่อค่ะ สำหรับผู้สนใจนะคะ ติดตามฟัง podcast ได้ใน podbean หรือว่าจะติดตามใน Youtube Facebook