Knowledge
อย่าปล่อยให้โรงเรียนกลายเป็นพื้นที่ความรุนแรง ใครมีส่วนเกี่ยวข้องและต้องช่วยเหลือ เมื่อเด็ก Bully กัน
5 years ago 6685 Bullying หรือการรังแก กลายเป็นคำที่ถูกพูดถึงอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ทั้งๆ ที่เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานาน และดูเหมือนจะเกิดขึ้นแทบทุกพื้นที่ในบ้านเรา ไม่เว้นแม้กระทั่ง “โรงเรียน”
แยกอย่างไร อะไรคือ Bully
- เพื่อนแอบถ่ายรูปเราตอนหลับ แล้วเอาไปลง Facebook
- เพื่อนเอาข่าวที่พ่อแม่เราเลิกกันไปป่าวประกาศในห้องเรียน
- เพื่อนไม่คุยด้วยมาอาทิตย์กว่าแล้ว
พฤติกรรมเหล่านี้เข้าข่ายการรังแกกันหรือเปล่า เรามีเกณฑ์วัดง่ายๆ โดยใช้ 3 คำนี้ มุ่งร้าย - อำนาจ-ซ้ำๆ
เจตนามุ่งร้าย เมื่อไรก็ตามที่ผู้กระทำมีเจตนามุ่งร้ายต่อผู้ถูกกระทำ
อำนาจเหนือกว่า ผู้กระทำอาจจะตัวใหญ่กว่า รวยกว่า เพื่อนเยอะกว่า เรียนเก่งกว่า
พฤติกรรรมหรือการรังแกนั้นๆ เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมา
เมื่อไรที่เกิดพฤติกรรมหรือการกระทำใดครบ 3 อย่างนี้ ถือว่าเป็นการรังแกกัน
ช่วงที่เด็กเปลี่ยนผ่านจากประถมสู่มัธยม พบการรังแกกันมากที่สุด โดยเฉพาะการรังแกกันทางวาจา
ล้อว่าตัวดำ ล้อชื่อพ่อแม่ คือรูปแบบหนึ่งของการรังแกกันที่พบมากที่สุด จากการรังแกกันทั้งหมด 4 รูปแบบ
- ร่างกาย พบว่าครูจะเข้าไปช่วยหยุดการรังแกรูปแบบนี้มากที่สุด เนื่องจากเห็นได้ชัดเจน
- วาจา ล้อเลียนปมด้อย เช่น รูปลักษณ์ สีผิว เพศ เพศสภาพ พูดให้เสียหาย อับอาย ด่าหยาบคาย ข่มขู่ คุกคาม
การรังแกกันทางวาจาที่คลาสิกสุดของเด็กไทย เห็นจะหนีไม่พ้นการล้อชื่อพ่อแม่ ที่ไม่พบในประเทศทางตะวันตก อาจเป็นเพราะวัฒนธรรมที่ต่างกัน ทำให้การล้อชื่อพ่อแม่กลายเป็นเรื่องสนุกของเด็กบางกลุ่ม แต่กลับเป็นเรื่องที่ต่างชาติไม่เข้าใจว่าคนไทยล้อกันไปทำไม
น่าเสียดายที่หลายครั้งการรังแกกันทางวาจาที่เกิดขึ้นในพื้นที่โรงเรียน เด็กผู้ถูกกระทำต้องหาทางรอดเอง ไม่ค่อยมีการช่วยเหลือจากครูเท่าไร เพราะครูคิดว่าเด็กแค่เล่นกัน - สังคม การไม่ให้เข้ากลุ่ม กระซิบกระซาบ นินทา
- โลกออนไลน์ เกิดขึ้นได้ทุกที่ 24 ชั่วโมง แพร่ขยายได้เร็วมาก และจับตัวผู้กระทำได้ยากที่สุด เด็กและเยาวชน ร้อยละ 20 บอกว่า Cyber bully ทำให้กลัวจนไม่อยากไปโรงเรียน วัยรุ่นส่วนใหญ่พบว่า ตนเองจะถูกรังแกใน Facebook มากกว่าช่องทางออนไลน์อื่นๆ 2 เท่า
เมื่อรอบตัวเรากลายเป็นพื้นที่รุนแรงของการรังแกกันมากขนาดนี้ แล้วเราจะช่วยเด็กที่ถูกรังแกเหล่านั้นได้อย่างไร
การรังแกกันไม่ใช่แค่เรื่องของ “ผู้รังแก” กับ “ผู้ถูกรังแก”
งานวิจัยชี้ว่า การแก้ไขแค่เด็กคู่กรณีไม่สามารถหยุดปัญหาการรังแกกันได้ เพราะจะมีเคสใหม่ๆ เข้ามาเรื่อยๆ จะแก้เรื่องนี้ให้สำเร็จจริงๆ ต้องแก้ทั้งระบบ (Whole school approach) ที่มีทั้งบุคลากรในโรงเรียน เพื่อน ผู้ปกครองและชุมชน
ครูมีบทบาทอย่างมากในการสร้างวัฒนธรรมในห้องเรียน ต้องพยายามช่วยเหลือ จัดการไม่ให้มีการรังแกกัน เมื่อไรที่ครูเพิกเฉยจะกลายเป็นการส่งเสริมการรังแกกันทางอ้อมทันที
ลักษณะการเลี้ยงดูของผู้ปกครองก็มีส่วนทำให้เด็กเกิดการรังแกกัน ควรตั้งกฎเกณฑ์ หรือขอบเขตของพฤติกรรมที่เหมาะสม ห้ามหรือจัดการ หากเด็กรังแกคนในบ้าน ต้องส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองและเข้าสังคมมากขึ้น
ในพื้นที่โรงเรียน หัวใจสำคัญคือ การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ที่ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำ เอาจริงเอาจัง พฤติกรรมเด็กจะเปลี่ยนไปตามสิ่งแวดล้อม ต้องทำให้เด็กรู้สึกว่า โรงเรียนของเราไม่ยอมรับการใช้ความรุนแรง
ดาวน์โหลด คู่มือปฏิบัติ สำหรับการดำเนินการป้องกัน และจัดการการรังแกกันในห้องเรียน http://new.smartteen.net/ebook_cover/37/mobile/index.html
จากหัวข้อ การป้องกันการรังแกในโรงเรียน โดย พญ.โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ และคณะ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ และสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ วันที่ 17 ตุลาคม 2562 ในงาน EDUCA 2019