WORKSHOP

กลยุทธ์การบริหารจัดการตามแนว PLC เพื่อเสริมสร้าง Eco- School: กรณีตัวอย่างโรงเรียนเมืองกระบี่
กลยุทธ์การบริหารจัดการตามแนว PLC เพื่อเสริมสร้าง Eco- School: กรณีตัวอย่างโรงเรียนเมืองกระบี่

 17 ต.ค. 62  11.00-12.30  SAPPHIRE 203

วิทยากร / สังกัด :
ผอ.วสันต์ ปัญญา - โรงเรียนเมืองกระบี่
คุณครูเชี่ยวชาญ คงสกุล - โรงเรียนเมืองกระบี่
คุณครูศักติพันธ์ จันทร์เพชร - โรงเรียนเมืองกระบี่
คุณครูอมรทัต เอียดศรีชาย - โรงเรียนเมืองกระบี่
ระดับชั้น : ประถมศึกษา, มัธยมศึกษาตอนต้น, มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : วิทยาศาสตร์
เหมาะสำหรับ : ผู้อำนวยการ/ ครูใหญ่, หัวหน้ากลุ่มสาระวิชา, ครู, นิสิต/นักศึกษาครู , ศึกษานิเทศก์
ศาสตร์การสอน : ทักษะศตวรรษที่ 21, การพัฒนาหลักสูตร, การออกแบบการจัดการเรียนรู้, การใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้, STEM/STEAM Education

กลยุทธ์การบริหารจัดการตามแนว PLC เพื่อเสริมสร้าง Eco- School: กรณีตัวอย่างโรงเรียนเมืองกระบี่

การบริหารจัดการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาทั้งระบบสู่ความยั่งยืน กรณีศึกษาโรงเรียนเมืองกระบี่ดำเนินการภายใต้กรอบพันธกิจ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมศึกษาและโครงสร้างการบริหารจัดการ ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา
โรงเรียนดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 จนถึงปัจจุบัน ด้วยการน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทานของในหลวง ร.9 "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" มาปรับใช้ในการบริหารจัดการสู่ความยั่งยืน ซึ่งจะยั่งยืนได้ จะต้องพัฒนาครูให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง จึงได้พัฒนาครูโดยใช้ระบบ Coaching and Mentoring Ststem: CMS ที่ออกแบบโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และท่านอาจารย์พวงเพชร กันยาบาล อดีตศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ เปิดหัวใจคุณครู เปิดหัวใจคุณครูให้ "ระเบิดจากข้างใน" และพร้อมสำหรับการปรับปรุง แก้ไขพัฒนาตนเอง เพื่อร่วมกันพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ รวมทั้งการจัดการเรียนรู้ 5 Steps ซึ่งคณะครูได้รับการพัฒนาโดยรองศาสตราจารย์ ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ รองศาสตราจารย์พเยาว์ ยินดีสุข อีกทั้งได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้บันได 7 ขั้น สิ่งแวดล้อมศึกษา โดยรองศาสตราจารย์รศ.ประสาน ตังสิกบุตร ที่ปรึกษาโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(Eco School)
ผลของการบริหารจัดการดังกล่าว ส่งผลให้ครูปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากที่เกิดปัญหาด้านวัฒนธรรมองค์กร เปลี่ยนมาเป็นเกิดการ "รู้รัก สามัคคี" และให้ความร่วมมือกับฝ่ายบริหาร ระดับชั้นและ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในด้านงานสอนและงานสนับสนุนการสอน ส่งผลให้นักเรียนมีคุณภาพดีขึ้น กล่าวคือมีผลสัมฤทธิ์และความสำเร็จทางการเรียนที่สูงขึ้น ผู้ปกครองและชุมชนมีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการโรงเรียนในระดับมาก และส่งบุตรหลานมาเข้าเรียนในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนด อีกทั้งโรงเรียนได้รับการยอมรับและได้รับเชิญจากหน่วยงาน สถานศึกษา องค์กร ภาครัฐ เอกชน รัฐบาลไทย และรัฐบาลต่างประเทศเชิญให้ไปร่วมสัมมนาทางวิชาการ เป็นวิทยากรทั้งการบรรยายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการทำ workshop เพื่อนำรูปแบบการบริหารจัดการนี้ไปใช้ ณ ประเทศตน ซึ่งล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เชิญให้โรงเรียนเมืองกระบี่ไปให้การอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องนี้ให้กับโรงเรียนในโครงการโรงเรียนสีเขียวยั่งยืน 11 จุดการอบรม ทั่วทั้งประเทศ เพื่อให้โรงเรียนกบุ่มเป้าหมาย 400 โรงเรียน ในสังกัด สพฐ. อปท. ตชด. และเอกชน นำรูปแบบนี้ไปปรับใช้ในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนั้น องค์การ UNESCO พิจารณาผลงานภาพถ่ายการทำกิจกรรม "หนึ่งห้องเรียน หนึ่งฐานการเรียนรู้ (One Classroom, One Learning Base: OCOLB) ของนักเรียนอันเกิดจากการเรียนรู้และปฏิบัติจริง เป็น 1 ใน 6 ภาพ จากทั่วโลก ให้ไปอยู่ ณ Hall of Happiness ยิ่งไปกว่านั้น ยังพิจารณาให้โรงเรียนเมืองกระบี่ เป็น 1 ใน 5 ของโรงเรียนในโครงการ Happy School Project ที่ได้รับการสนับสนุนให้ทำวิจัยรูปแบบการบริหารจัดการทั้งระบบที่ยั่งยืนเพื่อเผยแพร่ผลงานไปทั่วโลก

รูปแบบกิจกรรม: เสวนาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์

 


TAG: #การบริหารจัดการทั้งระบบ #Whole School Approach #การพัฒนาที่ยั่งยืน #Sustainable Development #การสอนในศตวรรษที่ 21 #สะเต็มศึกษา #จิตวิทยาการปรึกษา/จิตวิทยาการเรียนรู้ #การจัดการห้องเรียน #การออกแบบการจัดการเรียนรู้ #การวิจัยในชั้นเรียน #การแก้ไขปัญหานักเรียน #การจัดการเรียนรู้แบบ 5 Steps และแบบบันได 7 ขั้น สิ่งแวดล้อมศึกษา