WORKSHOP

การประเมินทักษะการคิด
การประเมินทักษะการคิด

 16 ต.ค. 62  9.00-10.30  SAPPHIRE 102

วิทยากร / สังกัด :
อาจารย์ ดร.ธนนันท์ ธนารัชตะภูมิ - คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ระดับชั้น : ปฐมวัย, ประถมศึกษา, มัธยมศึกษาตอนต้น, มัธยมศึกษาตอนปลาย, อุดมศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, สังคมศาสตร์, ภาษาไทย, ภาษาต่างประเทศ, ศิลปะและดนตรี, สุขศึกษา และพลศึกษา, การงานอาชีพ, เทคโนโลยีสารสนเทศ, กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, บูรณาการศาสตร์
เหมาะสำหรับ : ผู้อำนวยการ/ ครูใหญ่, หัวหน้ากลุ่มสาระวิชา, ครู, ครูการศึกษาพิเศษ, นิสิต/นักศึกษาครู , ศึกษานิเทศก์
ศาสตร์การสอน : การวัดและประเมินผลการเรียนรู้, การออกแบบการจัดการเรียนรู้

การประเมินทักษะการคิด

การประเมินทักษะการคิดเป็นกระบวนการที่จะทำให้ผู้สอนทราบถึงระดับการคิดของผู้เรียน สามารถนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาทักษะการคิดให้กับผู้เรียน ในการประเมินทักษะการคิด ประกอบด้วยการวางแผนและออกแบบการประเมิน การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปและอภิปรายผลการประเมิน และการนำเสนอผลการประเมิน ในการวางแผนและออกแบบการประเมิน ผู้ประเมินต้องคำนึงถึงจุดมุ่งหมายในการประเมิน สิ่งที่มุ่งประเมิน รวมไปถึงบริบทในการประเมิน เพื่อนำไปสู่การเลือกวิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ การวิเคราะห์ การสรุปและรายงานผลการประเมิน
ในการวัดทักษะการคิดสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. ได้แบ่งทักษะการคิดสำหรับการพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1) ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยทักษะการคิดที่ใช้ในการสื่อสารและทักษะการคิดที่เป็นแกน และ 2) ทักษะการคิดขั้นสูง ประกอบด้วยทักษะการคิดซับซ้อน ทักษะพัฒนาลักษณะการคิด และทักษะกระบวนการคิด ในขณะที่ Cambridge Assessment Admissions Testing (2019) ประเมินทักษะการคิด ผ่านการสอบ Thinking Skills Assessment: TSA ให้กับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ในด้านทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving) และทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) ซึ่งการให้ความหมายและองค์ประกอบในการวัดทักษะการคิดจะเป็นส่วนสำคัญหนึ่งในการออกแบบการประเมินทักษะการคิดต่อไป

รูปแบบการจัดกิจกรรม: ลงปฏิบัติ


TAG: #การประเมิน #ทักษะการคิด #การวัดและประเมินผลการเรียนรู้