WORKSHOP

การจัดการเรียนรู้จริยธรรมอิสลาม (อัคลาก) ในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ชุมชนทางวิชาชีพ
การจัดการเรียนรู้จริยธรรมอิสลาม (อัคลาก) ในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ชุมชนทางวิชาชีพ

 16 ต.ค. 62  11.00-12.30  SAPPHIRE 104

วิทยากร / สังกัด :
ผศ.ดร.มูฮามัสสกรี มันยูนุ - คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
ดร.อิสมาอีล ราโอบ - คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
อาจารย์อับดุลฆอนี เจะโซะ - คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
ระดับชั้น : ประถมศึกษา, มัธยมศึกษาตอนต้น, มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : สังคมศาสตร์, กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
เหมาะสำหรับ : ผู้อำนวยการ/ ครูใหญ่, หัวหน้ากลุ่มสาระวิชา, ครู, นิสิต/นักศึกษาครู , ศึกษานิเทศก์
ศาสตร์การสอน : ทักษะศตวรรษที่ 21, การจัดการชั้นเรียน, จิตวิทยาแนะแนว/จิตวิทยาการเรียนรู้, การออกแบบการจัดการเรียนรู้, ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ

การจัดการเรียนรู้จริยธรรมอิสลาม (อัคลาก) ในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ชุมชนทางวิชาชีพ
หลักสูตรแกนกลางอิสลามศึกษา 2551 ประกอบด้วย 8 สาระการเรียนรู้ คือ
1) อัลกุรอาน (คัมภีร์อัลกุรอาน) 2) อัลหะดีษ (พระวจนศาสดา) 3) อัลอะกีดะห์ (หลักการศรัทธา) 4) อัลฟิกห์ (หลักการปฏิบัติ) 5) อัตตารีค (ประวัติศาสตร์) 6) อัลอัคลาก (จริยธรรม) 7) ภาษาอาหรับ และ 8) ภาษามลายู

อิสลามได้ให้ความสำคัญต่อจริยธรรม (อัคลาก) เป็นอย่างยิ่ง มุสลิมที่มีจริยธรรม คือมุสลิมที่ปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมต่อพระเจ้า(อัลลอฮฺฺ) ต่อตนเอง ต่อเพื่อนมนุษย์ และต่อทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้ ทั้งที่ลับและที่แจ้งด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ฉะนั้น การจัดการเรียนรู้จริยธรรมอิสลามจึงมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังผู้เรียนเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรมที่สอดคล้องวิถีชีวิตมุสลิม และสามารถประยุกต์ใช้กับสังคมรอบข้างทุกบริบท การจัดการเรียนเรียนรู้อัคลากในห้องสี่เหลี่ยมเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพออีกต่อไป อิสลามสนับสนุนให้มุสลิมได้ปฏิบัติศาสนกิจเป็นทีมกลุ่มเป็นทีม โดยเน้นให้มีการเชื่อฟังผู้นำ และเปิดโอกาสให้มีการว่ากล่าวตักตือนซึ่งกันและกัน เช่น การละหมาด เป็นต้น การรวมกลุ่มกันศึกษาอัลกุรอานหรือฮาลาเกาะฮฺอัลกุรอาน (Halaqah al-Quran) เป็นรูปแบบการเรียนรู้หนึ่งที่ปราชญ์มุสลิมนิยมใช้กันในการอบรมตักเตือนอัคลากของผู้เรียนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังคงดำรงการสอนอยู่ในสถาบันการศึกษาปอเนาะ และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ทั้งนี้ ผู้นำและผู้ตามสามารถสดับฟังหลักคำสอนอัลกุรอานพร้อมๆกัน และแลกเปลี่ยนตักเตื่อนซึ่งกันและอย่างเป็นกัลญานมิตร เสมือนว่าพวกเขาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน แก้ปัญหาร่วมกัน และนำเสนอวิธีการแก้ด้วยกันในคราวฮาลาเกาะฮฺถัดมา วนไปวนมาเป็นรอบต่อๆไปเป็นกลุ่มเป็นชุมชนที่เชื่อใจกัน ด้วยเหตุนี้การประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้จริยธรรมอิสลามผ่านกระบวนการเรียนรู้ชุมชนทางวิชาชีพ (PLC) จึงเป็นการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนมุสลิมในศตวรรษที่ 21
รูปแบบกิจกรรม: เสวนาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์


TAG: #พหุวัฒนธรรม #จริยธรรมอิสลาม #กระบวนการเรียนรู้ #อัคลาก(จริยธรรม) #Plc #การสอนในศตวรรษที่ 21 #จิตวิทยาการปรึกษา/จิตวิทยาการเรียนรู้ #การจัดการห้องเรียน #การออกแบบการจัดการเรียนรู้ #การแก้ไขปัญหานักเรียน