WORKSHOP
GPAS 5 Steps สู่ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21
16 ต.ค. 62 9.00-10.30 SAPPHIRE 203
ผศ.ดร.ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน - คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อาจารย์เอกชัย ภูมิระรื่น - คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อาจารย์จีรพรรณ์ หน่อแก้ว - โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
อาจารย์วุฒินันท์ โชคอำนวย - โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ระดับชั้น : ปฐมวัย, ประถมศึกษา, มัธยมศึกษาตอนต้น, มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, สังคมศาสตร์, ภาษาไทย, ภาษาต่างประเทศ, ศิลปะและดนตรี, สุขศึกษา และพลศึกษา, การงานอาชีพ, เทคโนโลยีสารสนเทศ, กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, บูรณาการศาสตร์
เหมาะสำหรับ : ผู้อำนวยการ/ ครูใหญ่, หัวหน้ากลุ่มสาระวิชา, ครู, ครูการศึกษาพิเศษ, นิสิต/นักศึกษาครู , เจ้าหน้าที่โรงเรียน, ศึกษานิเทศก์
ศาสตร์การสอน : ทักษะศตวรรษที่ 21, การจัดการชั้นเรียน, การวัดและประเมินผลการเรียนรู้, การออกแบบการจัดการเรียนรู้, การใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้
GPAS 5 Steps สู่ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21
ในยุคศตวรรษที่ 21 คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills)ได้แก่ 1) ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม 2) การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา และ3) การสื่อสารและการร่วมมือทำงาน
ทักษะชีวิตและการทำงาน (Social and Cross-Cultural Skills)ได้แก่ 1) ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว 2) ความคิดริเริ่มและการชี้นำตนเอง 3) ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม 4) การเพิ่มผลผลิตและความรู้รับผิด และ5) ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ (Ken Kay,2011: 34-35) ซึ่งทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and innovation) และทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์(Cross-cultural understanding) เป็นทักษะที่สำคัญในยุคศตวรรษที่ 21 การยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Creative Innovation) และมีความเป็นนวัตกร (Innovator)
ในทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 และยุค 4.0 ด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอน GPAS 5 Steps ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) โครงสร้างทักษะกระบวนการคิด 5 ประการ ซึ่งเรียกว่า GPAS 5 Step GATHERING : การรวบรวมและเลือกข้อมูล PROCESSING : การจัดกระทำข้อมูล APPLYING : การประยุกต์ใช้ความรู้ A1 : Applying and Constructing the Knowledge) ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ A2 : Applying the Communication Skill) ขั้นสื่อสารและนำเสนอSELF – REGULATING : การกำกับตนเอง หรือ การเรียนรู้ได้เอง ทักษะกระบวนการคิด GPAS จึงเป็นขั้นตอนและจุดเน้นในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง จากนั้นนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง ใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ สิ่งที่ได้จากกระบวนการเหล่านี้ จะตกผลึกภายในตัวของผู้เรียน จะกลายเป็นตัวตนเป็นบุคลิกภาพของผู้เรียน และสะท้อนออกมาในภาระงานหรือการปฏิบัติที่ครูมอบหมาย
รูปแบบกิจกรรม: เสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และลงมือปฏิบัติ (วิทยากรมีของแจกสำหรับผู้เข้าร่วม)