WORKSHOP

Active Learning สำหรับครูในยุคการศึกษา 4.0
Active Learning สำหรับครูในยุคการศึกษา 4.0

 17 ต.ค. 62  13.30-15.00  SAPPHIRE 205

วิทยากร / สังกัด :
ผศ.ดร.ปริญญา ทองสอน - คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
อาจารย์ ดร.ปานเพชร ร่มไทร - คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ระดับชั้น : ประถมศึกษา, มัธยมศึกษาตอนต้น, มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, สังคมศาสตร์, ภาษาไทย, ภาษาต่างประเทศ, ศิลปะและดนตรี, สุขศึกษา และพลศึกษา, การงานอาชีพ, เทคโนโลยีสารสนเทศ, กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, บูรณาการศาสตร์
เหมาะสำหรับ : ผู้อำนวยการ/ ครูใหญ่, ครู, เจ้าหน้าที่โรงเรียน, ศึกษานิเทศก์, อาจารย์ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
ศาสตร์การสอน : ทักษะศตวรรษที่ 21, การออกแบบการจัดการเรียนรู้, STEM/STEAM Education

Active Learning สาหรับครูในยุคการศึกษา 4.0

การเรียนการสอนในยุคปัจจุบันเป็นสิ่งที่ ครูผู้สอนทุกคนควรตระหนักว่า เราจะจัดการเรียนการสอนเหมือนสมัยที่เราเคยเรียนมาตอนเป็นเด็กไม่ได้แล้ว เพราะโลกเปลี่ยนไปจากเดิมมาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันนี้ ต่างไปจากยุคอดีตเป็นอย่างมาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิด Active learning เป็นสิ่งที่ครูไทยทุกคนควรจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับยุคการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะให้สอดคล้องกับยุค 4.0  โดยที่Active Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป (Bonwell, 1991) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2 ประการคือ 1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์ และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน (Meyers and Jones, 1993) โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้(receive) ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้(co-creators)( Fedler and Brent, 1996) 

Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง แปลตามตัวก็คือเป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ หรือ การลงมือทำซึ่ง “ความรู้”  ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า

“เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ในการนี้ครูต้องลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงลง แต่ไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น และอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยการพูด การเขียน การอภิปรายกับเพื่อนๆ”

การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning จะนำเอาวิธีการสอนหลากหลายวิธีมา ผสมผสาน โดยอาจารย์ผู้สอนจะวางแผนคัดเลือกเทคนิคการสอนที่เหมาะสมกับธรรมชาติรายวิชา วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ลักษณะผู้เรียน รวมไปถึงออกแบบสัดส่วนของเทคนิคหลักเทคนิคของในการ  สอนแต่ละครั้ง

รูปแบบกิจกรรม: เสวนาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์


TAG: #Active Learning #การสอนในศตวรรษที่ 21 #สะเต็มศึกษา