WORKSHOP
พหุภาษา และการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
16 ต.ค. 62 9.00-10.30 SAPPHIRE 204
ศ. เกียรติคุณ ดร. สุวิไล เปรมศรีรัตน์ - สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
ผศ. ดร. ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร - สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร. มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์ - สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร. ยูเนียนสาสมีต้า สาเมาะ - สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
ระดับชั้น : ปฐมวัย, ประถมศึกษา, มัธยมศึกษาตอนต้น, มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : สังคมศาสตร์, ภาษาไทย, ภาษาต่างประเทศ, บูรณาการศาสตร์
เหมาะสำหรับ : ผู้อำนวยการ/ ครูใหญ่, หัวหน้ากลุ่มสาระวิชา, ครู, ครูการศึกษาพิเศษ, นิสิต/นักศึกษาครู , เจ้าหน้าที่โรงเรียน, ศึกษานิเทศก์, อาจารย์ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ , ผู้กำหนดนโยบาย, ผู้ปกครอง
ศาสตร์การสอน : ทักษะศตวรรษที่ 21, การจัดการชั้นเรียน, การพัฒนาหลักสูตร, การออกแบบการจัดการเรียนรู้
พหุภาษา และการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
“ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา” ไม่ใช่เรื่องไกลตัวในห้องเรียนของเรา การเปิดโอกาสในการใช้ภาษาต่างๆ ของนักเรียน และจัดกิจกรรมที่นำพาองค์ความรู้ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้เรียนเข้าสู่ห้องเรียน เป็นส่วนหนึ่งของการลดความเหลื่อมล้ำดังกล่าว
นวัตกรรมการศึกษาแบบ “ทวิ-พหุภาษาศึกษา” จะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาที่สร้างความเท่าเทียมเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ซุกซ่อนอยู่ในระบบการศึกษาได้ ประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาแบบ “ทวิ-พหุภาษา” โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับรางวัล UNESCO Literacy Prize 2016 เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ดังในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ชนเผ่าในพื้นที่ภาคเหนือ และส่วนอื่นๆ ของประเทศไทย
ชี้ให้เห็นว่า การจัดการศึกษารูปแบบนี้สามารถพัฒนาการรู้หนังสือผ่านภาษาแม่และ เพิ่มผลสัมฤทธิ์ในทักษะภาษาไทย สร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ และบูรณาการความรู้ทางภาษา-วัฒนธรรมที่มีความหลากหลายเข้าสู่หลักสูตรการสอนพร้อมสื่อและกลวิธีการสอนได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้การจัดการศึกษาแบบ “ทวิ-พหุภาษา” สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ต่างๆ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ อาทิเช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs-UN) : เป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ, กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี, นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และแผนยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี เป็นต้น
รูปแบบกิจกรรม: บรรยายและสาธิต